บทนำในวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ของสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
 
 
 

 

บทนำ


          จากการที่ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการ
ใช้พลังงานสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจประกอบกับการผลิตพลังงานภายในประเทศยัง ไม่สามารถผลิตพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศได้ ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้า
พลังงานจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีปริมาณในแต่ละปีสูงมาก  ถึงกว่าห้าแสนล้านบาทและจากข้อมูล
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ได้มีปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549
อยู่ที่ระดับ 106,881 กิกะวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.9 ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด
ในเดือนพฤษภาคม 2549 ที่ระดับ 21,064 เมกะวัตต์ สูงกว่าความต้องการสูงสุดของปี 2548 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 20,538 เมกะวัตต์ อยู่ 526 เมกะวัตต์คิดเป็น ร้อยละ 2.6

          การใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 อยู่ระดับ 95,457 กิกะวัตต์ชั่วโมง
เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 4.9  โดยภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนใช้งานมากที่สุดร้อยละ 45 ของการใช้ทั้งประเทศ มีการใช้ไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ภาคธุรกิจและบ้านอยู่อาศัย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 และ 21 มีการใช้ไฟฟ้า
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8 และ 5.8  ตามลำดับ  ภาคเกษตรกรรมมีการใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.2  และลูกค้าตรง กฟผ.
(รวมขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน)  มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9

          ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องลดการใช้พลังงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีหน้าทและ
ี่ความรับผิดชอบในการดูแลการใช้พลังงาน  โดยตรงทั้งในอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจและภาครัฐ  โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง  ในระบบการทำความเย็นซึ่งประเทศไทยเราเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ระบบ
ทำความเย็นค่อนข้างมาก  เมื่อเทียบสัดส่วนการใช้พลังงานของระบบการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ดังนั้นถ้าเราสามารถ
อนุรักษ์พลังงานในระบบทำความเย็นได้ ก็จะมีผลมากต่อการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าของประเทศเรา



สมเกียรติ ทองแก้ว